Endoscopic Surgery
แคปซูลจิ๋ว หรือ “Capsule Endoscopy” หนึ่งในเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยในการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารในร่างกาย ด้วยเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นแคปซูลติดกล้องบันทึกภาพขนาดเล็ก สามารถช่วยตรวจหาความผิดปกติในระบบลำไส้เพื่อรักษาโรคและภาวะต่างๆ โดยได้ดังนี้ ผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลืนแคปซูลขนาดจิ๋วพร้อมน้ำได้โดยไม่ต้องเคี้ยว หลังจากนั้นแคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร พร้อมบันทึกภาพระบบภายในร่างกายและส่งสัญญาณต่อเนื่องเพื่อเก็บบันทึกไว้ โดยใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมงในการตรวจวินิจฉัย ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจสามารถเคลื่อนไหว หรือดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ โดยไม่มีความเจ็บปวดใดๆ ก่อนจะถูกถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ แพทย์จะนำภาพและข้อมูลที่ได้มาตรวจวินิจฉัยและประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งการตรวจวินิจฉัยด้วยแคปซูลจิ๋วนี้เป็นอีกวิธีที่ช่วยในการรักษาคนไข้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องตรงจุดสาเหตุของการเกิดโรค
ห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid Operating Room)
ห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid Operating Room) หรือ ห้องผ่าตัดระบบผสมผสาน พัฒนาการของเทคโนโลยีด้านการแพทย์ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการผ่าตัด รองรับผู้ป่วยที่เข้ามารับการผ่าตัดรักษา โรคซับซ้อน สามารถทำการผ่าตัดหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ระบบระบายอากาศ – HEPA Filter – Positive pressure – อุณหภูมิภายใน 20-21 องศาเซลเซียส – ความชื้นสัมพัทธ์ 35-65% ระบบแสงสว่าง – ปลั๊กไฟฟ้าทุกตัวได้มาตรฐานโรงพยาบาล (Hospital grade) – ระบบไฟ UPS (Uninterrupted Power Supply) ระบบ Gas และเครื่องดูดสุญญากาศ – ไม่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิต และมีสัญญาณเตือนในแต่ละห้อง เมื่อเกิดความดันผิดปกติ – มีการตรวจสอบปริมาตรให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เครื่องมือและอุปกรณ์ – ตรวจสอบความพร้อมใช้และประสิทธิภาพการทำงานทุกวัน – ตรวจสอบมาตรฐาน (Calibrate) และดูแลรักษาโดยผู้ชำนาญจากบริษัทภายนอก ด้วยห้องผ่าตัดที่ออกแบบให้มีพื้นที่ใหญ่เป็นพิเศษ ทีมสหสาขาวิชาชีพสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ เช่น […]
MRI คืออะไร?
MRI หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ เทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในรังสีวิทยาเพื่อการตรวจทางกายวิภาค และสรีรวิทยาของร่างกายทั้งในด้านสุขภาพและโรคต่างๆโดยเครื่องตรวจที่ใช้ สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภาย ในต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง ด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ การตรวจทางการแพทย์ด้วยเครื่องมือชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง MRI ใช้ตรวจอะไรได้บ้าง? MRI สามารถใช้ตรวจได้เกือบทุกอวัยวะของร่างกาย โดยระบบหรืออวัยวะที่ควรได้รับการตรวจด้วย MRI ได้แก่ เดิมทีแล้วเครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI อาจมีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยบางรายและต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจค่อนข้างนาน จึงเป็นปัญหาที่พบเป็นประจำในผู้ป่วยที่ต้องรับการตรวจด้วยเครื่อง MRI เช่น Philips Ingenia 1.5T Evolution เป็นเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุดถูกติดตั้งที่โรงพยาบาลศิครินทร์ โดยเครื่อง MRI ที่โรงพยาบาลศิครินทร์เลือกนำมาใช้มีระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถประมวลผลได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยลดระยะเวลาผู้ป่วยนอนอุโมงค์และเพิ่มความสะดวกสบายกับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น โดยมีจุดเด่นคือ เรื่องที่ต้องรู้ เมื่อต้องทำ MRI ประโยชน์จากMRI1. […]
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ Cath Lab
อีกหนึ่งแนวทางของการพัฒนา เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ได้มาตรฐาน และให้ผลที่แม่นยำสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด “ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ” (Cardiac Catheterization Lab) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Cath Lab เป็นห้องพิเศษที่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการประมวลภาพหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดตามส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โดยภาพจะปรากฏขึ้นที่จอและบันทึกเป็นเทปโทรทัศน์ระบบดิจิทัล สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทาง ตรวจดูซ้ำได้อย่างละเอียด ทำให้แพทย์ได้ภาพจากทุกมุมตามต้องการได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน การตรวจสวนหัวใจ เป็นการวินิจฉัยโรควิธีหนึ่ง ซึ่งเอื้อประโยชน์หลายอย่างต่อการดูแลรักษาโดยทำการตรวจเพื่อดูตำแหน่งผิดปกติและความรุนแรงของหลอดเลือดหัวใจตีบตันดูความผิดปกติของลิ้นหัวใจ การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจหากพบความผิดปกติ เส้นเลือดหัวใจตีบอุดตันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะทำการรักษาได้โดยการใส่บอลลูนขยายและ/หรือใส่ขดลวดถ่างขยาย (Stent) วิธีการตรวจ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะใส่ท่อสายพลาสติกขนาดเล็กที่ปราศจากเชื้อโรคเข้าสู่หลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบข้อแขนข้อพับจุดใดจุดหนึ่งย้อนเข้าไปสู่หัวใจและไปจ่ออยู่ตรงทางออกของหลอดเลือด จากนั้นฉีดสีผ่านท่อนี้พร้อมกับถ่ายรูปของหลอดเลือด และของหัวใจ โดยใช้กล่องเอกซเรย์พิเศษ เมื่อตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจและฉีดสีแล้วหากพบรอยโรคหัวใจมีการตีบตัน และแสดงผลว่าสามารถทำบอลลูนใส่ขดลวดได้แพทย์สามารถสวนรักษาควบคู่ได้ในคราวเดียวกันโดยการฉีดยาชาเฉพาะจุดและใช้เข็มขนาด 1.5 – 2 มิลลิเมตร เจาะใส่ลวดนำทางวางสายนำทางในหลอดเลือด เพื่อนำสายสวนไปยังหลอดเลือดหัวใจทำการวินิจฉัย โดยจะทราบผลทันทีหลังการตรวจ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจด้วยการสวนหัวใจในกรณีการวินิจฉัยด้วยวิธีการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์การทำกราฟหัวใจ, การตรวจสารต่างๆในเลือด, การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การวิ่งสายพานและอัลตราซาวนด์หัวใจการตรวจวินิจฉัยว่ามีลักษณะการตีบที่รุนแรง หรือการรักษาทางยาไม่ได้ผลเมื่อประมวลผลแล้วมีข้อบ่งชี้ของหลอดเลือดหัวใจตีบตันจึงวินิจฉัยขั้นสุดท้ายด้วยการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ เพื่อวางแผนการรักษาขั้นต่อไป